เมนู

เห็นรูปในอัตตา หรือเห็นอัตตาในรูป (ถ้า) รูปนั้นของเขาย่อยยับไป
เขาจักถึงความพินาศ อันมีความย่อยยับนั้นเป็นเหตุ. ปุถุชนนั้น ตามเห็น
เวทนา... สัญญา... สังขาร... ตามเห็น วิญญาณ โดยความเป็นอัตตา
เห็นอัตตามีวิญญาณ เห็นวิญญาณในอัตตา หรือเห็นอัตตาในวิญญาณ
ถ้าวิญญาณนั้นของปุถุชนนั้น ย่อยยับไป เขาจะพึงถึงความพินาศ
อันมีความย่อยยับนั้นเป็นเหตุ.
[238] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ภ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ภ. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.
ภ. เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.
จบ นทีสูตรที่ 1

อรรถกถาปุปผวรรคที่ 5



อรรถกถานทีสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัย ในนทีสุตรที่ 1 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปพฺพเตยฺยา แปลว่า เป็นไปในภูเขา. บทว่า โอหาริณี
ความว่า พัดพาหญ้า ใบไม้ และท่อนไม้ เป็นต้น ที่หล่นลงไป ๆ

ในกระแสน้ำลงมาข้างล่าง. บทว่า ทูรงฺคมา ความว่า มีปกติ
ไหลไปได้ (ไกล) ถึง 400 โยชน์ 500. โยชน์ นับตั้งแต่ที่ (เริ่ม)
ไหลออก. บทว่า สีฆโสตา แปลว่า มีกระแสเชี่ยวกราก. บทว่า กาสา
เป็นต้น หมายถึง ติณชาติทั้งหมด. บทว่า รุกฺขา ได้แก่ ต้นไม้ล้มลุก
มีต้นละหุ่งเป็นต้น. บทว่า เต นํ อชฺโฌลมฺเพยฺยุํ ความว่า ต้นไม้เหล่านั้น
แม้เกิดอยู่ริมฝั่งน้ำ เอนลงไป มียอดระน้ำ ห้อยย้อยอยู่ อธิบายว่า
ห้อยย้อยอยู่เบื้องบนน้ำ.
บทว่า ปลุชฺเชยฺยุํ ความว่า พึงหล่นลงไปบนศีรษะ พร้อมกับ
ดินติดราก บุรุษนั้นถูกหญ้าเลาเหล่านั้น (ล้ม) ทับแล้ว มีน้ำปนทราย
ปนดินไหลเข้าปาก (เขา) ก็จะพึงประสบกับความพินาศอย่างหนัก.
ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีอธิบายว่า :-
พาลปุถุชนที่อาศัยวัฏฏะ พึงเห็นเหมือนบุรุษที่ตกลงไปใน
กระแสน้ำ.
เบญจขันธ์ที่ทุรพลพึงเห็นเหมือนต้นเลาเป็นต้นที่เกิดอยู่ตาม
ริมฝั่งทั้งสองข้าง.
การที่พาลปุถุชนไม่รู้ (ตามความเป็นจริง) ว่า ขันธ์เหล่านี้ไม่ใช่
สหายของเรา แล้วยึดถือไว้ด้วยการยึดถือ 4 อย่าง พึงเห็นเหมือนการที่
บุรุษนั้นยึด (ต้นไม้) เพราะไม่รู้ว่า ต้นไม้เหล่านี้แม้ยึดไว้แล้วก็จัก
ไม่สามารถรับน้ำหนักเราไว้ได้.
การเกิดขึ้นแห่งความพินาศมีโสกะเป็นต้น แก่พาลปุถุชนใน
เพราะขันธ์ที่ยึดไว้ด้วยความยึดถือ 4 อย่างแปรปรวนไป พึงทราบว่า
เหมือนการที่บุรุษ (นั้น) เกิดความพินาศ เพราะต้นไม้ที่ยึดไว้ๆ หลุดไป.
จบ อรรถกถานทีสูตรที่ 1

2. ปุปผสูตร



ว่าด้วยพระพุทธองค์ไม่ขัดแย้งกับโลก



[239] กรุงสาวัตถี. ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต
ไม่กล่าวขัดแย้งกับโลก แต่ชาวโลกกล่าวขัดแย้งกับเราตถาคต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวเป็นธรรม จะไม่กล่าวขัดแย้งกับใคร ๆ
ในโลก. สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้น
ว่าไม่มี. สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราตถาคตก็กล่าวว่ามี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี ซึ่งเราก็กล่าวว่า
ไม่มี นั้นคืออะไร ? คือรูปที่เที่ยงยั่งยืน สืบต่อกันไป มีความไม่
แปรปรวนเป็นธรรมดา บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้เราตถาคตก็
กล่าวรูปนั้นว่าไม่มี เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เที่ยง ยั่งยืน
สืบต่อกันไป มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ที่บัณฑิตทั้งหลายใน
โลกสมมติว่าไม่มี แม้เราตถาคตก็กล่าววิญญาณนั้นว่า ไม่มี. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี ซึ่งเราตถาคต
ก็กล่าวว่า ไม่มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า มี
ซึ่งเราตถาคตกล่าวว่ามี คืออะไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ รูปไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่บัณฑิตทั้งหลายใน
โลกสมมติว่ามี แม้เราตถาคตก็กล่าวรูปนั้นว่ามี เวทนา... สัญญา...
สังขาร... วิญญาณ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ที่บัณฑิตทั้งหลายในโลกสมมติว่ามี แม้เราตถาคตก็กล่าววิญญาณนั้นว่า
มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือสิ่งที่บัณฑิตทั้งหลายในโลกสมมติว่ามี
ซึ่งเราตถาคตกล่าวว่ามี.